วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The Nature of Science Grade 6-8

A. The scientific worldview
ในระดับ 6 - 8 วัยรุ่นส่วนใหญ่มีความสนใจในธรรมชาติมากกว่าปรัชญาวิทยาศาสตร์ พวกเขามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดผลสะท้อนกลับเข้ามา พวกเขาทำงานโดยมีการตั้งสมมติฐาน และมุมมองเกียวกับธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามช่วงแรกของวัยรุ่นไม่ได้เร็วไปที่จะเริ่มต้นจัดการกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอย่างคงทนและง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของรากฐาน ในความรู้ทางวิทยาศาสตร์ควรได้รับความสนใจ การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์บางครั้งเกิดจากข้อมูลใหม่ๆที่พึ่งปรากฎขึ้น และบางครั้งมาจากการสร้างสรรค์ทฤษฎีที่ดีกว่า
เมื่อเรียนจบในระดับ8 แล้วนักเรียนควรรู้
1. นักวิทยาศาสตร์จะตรวจสอบซ้ำหลายๆครั้ง ก่อนจะยอมรับว่าผลลัพธ์นั้นถูกต้อง
2. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่แก้ไขหรือพิสูจน์ข้อมูลในทฤษฎีต่างๆโดยทั่วไปและหาวิธีพิสูจน์ข้อมูลต่างๆโดยวิธีใหม่ๆ
3. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บางอย่างถึงแม้ว่าจะเก่าแต่ก็ยังสามารถนำมาใช้ได้จนถึงปัจจุบันนี้

B. The Scientific Worldview grade 6-8

วัย รุ่นมีความสนใจในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติได้มากกว่าปรัชญา พวกเขามีส่วนรวมในการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสะท้อนมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สายเกินไปที่วัยรุ่นจะเริ่มต้นจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับความคงทนของ ความรู้วิทยาศาสตร์ เขาควรได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น บางครั้งผลของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งอาจทำให้คิดค้นทฤษฎีที่ดีกว่าเดิม
หลังจากเรียนจบกรด 8 นักเรียนควรเรียนรู้เกี่ยวกับ
1. เมื่อศึกษาในสิ่งเดียวกันอาจได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งการขัดแย้งนี้จะตัดสินได้ว่าสิ่งใดสำคัญหรือไม่สำคัญ และสิ่งนี้จะต้องศึกษาต่อ
2. เมื่อมีผลที่คล้ายคลึงกัน นักวิทยาศาสตร์จะรอจนกระทั่งมีการสืบสวนซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะยอมรับผลว่า ถูกต้อง
3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงหากมีการสังเกตครั้งใหม่ ซึ่งทำให้ได้แนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ๆตามมา
4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างอาจจะเก่ามาก แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
5. เรื่องบางอย่างไม่สามารถอธิบายด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และเรื่องในธรรมชาติบางเรื่องไม่สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการสังเกต
6. บางครั้งวิทยาศาสตร์จะใช้ในการอธิบายการตัดสินใจทางจริยธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการกระทำมีความสำคัญ แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้ตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิดจริยธรรมได้

C. The Scientific Enterprise

เมื่อเรียนจบเกรด 8 นักเรียนควรทราบว่า
1. สิ่งที่สนับสนุนในความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ความแตกต่างกันของคนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและเวลาที่ต่างกัน
2. สตรีและชนกลุ่มน้อยซึ่งมีข้อจำกัดในการศึกษาและโอกาสการจ้างงานของสถาน ประกอบการ
3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างทำให้ทุกคนอยู่บนโลกนี้ได้
4. นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธุรกิจและอุตสาหกรรม โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆของรัฐหลาย ซึ่งล้วนประกอบด้วยสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ, ฟาร์ม, โรงงาน, ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินตลอดจนมหาสมุทร
5.ในการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ จริยธรรมของวิทยาศาสตร์กำหนดให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่ เกี่ยวข้องกับการวิจัยและมีสิทธิที่จะปฏิเสธที่จะเข้าร่วมวิจัย เพราะสัตว์ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
6.จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่ทราบเรื่องของผู้ร่วมงาน นักเรียนหรือชาวชุมชนเพื่อสุขภาพหรือทรัพย์สิน โดยไม่มีความรู้เดิมและได้รับความยินยอม
7. คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพราะ ความเร็วและขยายความสามารถของผู้คนในการรวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ทำรายงานการวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันทั่วโลก
8. การเก็บบันทึกข้อมูล, การเปิดกว้างและการจำลองเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความน่าเชื่อถือของนัก วิทยาศาสตร์และสังคม
9. ความสนใจและมุมมองส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์จะมีผลต่อคำถามที่เขาศึกษา
10.นักวิทยาศาสตร์ได้มีการเชื่อมโยงกับ นักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ทั่วโลกทั้งส่วนตัวและผ่านหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)

วิทยาศาสตร์ต้องการหลักฐาน (Science Demands Evidence)
วิทยาศาสตร์คือการบรูณาการตรรกะและจินตนาการเข้าด้วยกัน (Science Is a Blend of Logic and Imagination)
วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายและทำนายปรากฎการณ์ต่างๆได้ (Science Explains and Predicts)
นักวิทยาศาสตร์พยายามหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนการอธิบายปราฏการณ์ต่างๆ โดยไม่มีอคติ (Scientists Try to Identify and Avoid Bias)
วิทยาศาสตร์มีอิสระและไม่ได้เกิดจาการบังคับ (Science Is Not Authoritarian)
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและ

ตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ

มนุษย์สามารถทำความเข้าใจโลกได้ (The World Is Understandable)
ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ยอมรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (Scientific Knowledge Is Durable)
วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบทุกอย่างได้ (Science Cannot Provide Complete Answers to All Questions)
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(
สสวท.2544)
เข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

สังคม และ สิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน (Science Is a Complex Social Activity)
วิทยาศาสตร์จำแนกได้หลายสาขาวิชาและนำไปใช้ในสถาบันต่างๆมากมาย (Science Is Organized Into Content Disciplines and Is Conducted in Various Institutions)
การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ต้องคำนึงถึงศิลธรรม (There Are Generally Accepted Ethical Principles in the Conduct of Science)
นักวิทยาศาสตร์ต้องมีส่วนร่วมในสังคมทั้งในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นพลเมืองคนหนึ่ง (Scientists Participate in Public Affairs Both as Specialists and as Citizens)


การเรียนรู้แบบ learning styles

นักจิตวิทยาที่ศึกษารูปแบบการเรียนรู้หรือลีลาการเรียนรู้ของมนุษย์ (Learning style) ได้พบว่า มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทาง คือ การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual percepters) การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory percepters) และ การรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic percepters) ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นลีลาการเรียนรู้ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ผู้เรียนแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันคือ

1) ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual learner) เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีถ้าเรียนจากรูปภาพ แผนภูมิ แผนผังหรือจากเนื้อหาที่เขียนเป็นเรื่องราว เวลาจะนึกถึงเหตุการณ์ใด ก็จะนึกถึงภาพเหมือนกับเวลาที่ดูภาพยนตร์คือมองเห็นเป็นภาพที่สามารถเคลื่อนไหวบนจอฉายหนังได้ เนื่องจากระบบเก็บความจำได้จัดเก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้เป็นภาพ ลักษณะของคำพูดที่คนกลุ่มนี้ชอบใช้ เช่น “ฉันเห็น” หรือ “ฉันเห็นเป็นภาพ…..”
พวก Visual learner จะเรียนได้ดีถ้าครูบรรยายเป็นเรื่องราว และทำข้อสอบได้ดีถ้าครูออกข้อสอบในลักษณะที่ผูกเป็นเรื่องราว นักเรียนคนใดที่เป็นนักอ่าน เวลาอ่านเนื้อหาในตำราเรียนที่ผู้เขียนบรรยายในลักษณะของความรู้ ก็จะนำเรื่องที่อ่านมาผูกโยงเป็นเรื่องราวเพื่อทำให้ตนสามารถจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เด็ก ๆ ที่เป็น Visual learner ถ้าได้เรียนเนื้อหาที่ครูนำมาเล่าเป็นเรื่อง ๆ จะนั่งเงียบ สนใจเรียน และสามารถเขียนผูกโยงเป็นเรื่องราวได้ดี
ผู้ที่เรียนได้ดีทางสายตาควรเลือกเรียนทางด้านสถาปัตยกรรม หรือด้านการออกแบบ และควรประกอบอาชีพมัณฑนากร วิศวกร หรือหมอผ่าตัด
พวก Visual learner จะพบประมาณ 60-65 % ของประชากรทั้งหมด

2) ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner) เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าได้ฟังหรือได้พูด จะไม่สนใจรูปภาพ ไม่สร้างภาพ และไม่ผูกเรื่องราวในสมองเป็นภาพเหมือนพวกที่เรียนรู้ทางสายตา แต่ชอบฟังเรื่องราวซ้ำ ๆ และชอบเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง คุณลักษณะพิเศษของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีทักษะในการได้ยิน/ได้ฟังที่เหนือกว่าคนอื่น ดังนั้นจึงสามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดละออ และรู้จักเลือกใช้คำพูด
ผู้เรียนที่เป็น Auditory learner จะจดจำความรู้ได้ดีถ้าครูพูดให้ฟัง หากครูถามให้ตอบ ก็จะสามารถตอบได้ทันที แต่ถ้าครูมอบหมายให้ไปอ่านตำราล่วงหน้าจะจำไม่ได้จนกว่าจะได้ยินครูอธิบายให้ฟัง เวลาท่องหนังสือก็ต้องอ่านออกเสียงดังๆ ครูสามารถช่วยเหลือผู้เรียนกลุ่มนี้ได้โดยใช้วิธีสอนแบบอภิปราย แต่ผู้ที่เรียนทางโสตประสาทก็อาจถูกรบกวนจากเสียงอื่น ๆ จนทำให้เกิดความวอกแวก เสียสมาธิในการฟังได้ง่ายเช่นกัน
ในด้านการคิด มักจะคิดเป็นคำพูด และชอบพูดว่า “ฉันได้ยินมาว่า……../ ฉันได้ฟังมาเหมือนกับว่า……”
พวก Auditory learner จะพบประมาณ 30-35 % ของประชากรทั้งหมด และมักพบในกลุ่มที่เรียนด้านดนตรี กฎหมายหรือการเมือง ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี พิธีกรทางวิทยุและโทรทัศน์ นักจัดรายการเพลง (disc jockey) นักจิตวิทยา นักการเมือง เป็นต้น

3) ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic learner) เป็นพวกที่เรียนโดยผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก การเคลื่อนไหว และร่างกาย จึงสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีหากได้มีการสัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียน เวลานั่งในห้องเรียนจะนั่งแบบอยู่ไม่สุข นั่งไม่ติดที่ ไม่สนใจบทเรียน และไม่สามารถทำใจให้จดจ่ออยู่กับบทเรียนเป็นเวลานาน ๆ ได้ คือให้นั่งเพ่งมองกระดานตลอดเวลาแบบพวก Visual learner ไม่ได้ ครูสามารถสังเกตบุคลิกภาพของเด็กที่เป็น Kinesthetic learner ได้จากคำพูดที่ว่า “ฉันรู้สึกว่า……”
พวกที่เป็น Kinesthetic learner จะไม่ค่อยมีโอกาสเป็นพวก Visual learner จึงเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากหากครูผู้สอนให้ออกไปยืนเล่าเรื่องต่าง ๆ หน้าชั้นเรียน หรือให้รายงานความรู้ที่ต้องนำมาจัดเรียบเรียงใหม่อย่างเป็นระบบระเบียบ เพราะไม่สามารถจะทำได้ ครูที่ยังนิยมใช้วิธีสอนแบบเก่า ๆ อย่างเช่นใช้วิธีบรรยายตลอดชั่วโมง จะยิ่งทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหามากขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าความรู้สึกของเด็กเหล่านี้ได้ถูกนำไปผูกโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะสิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้ผูกโยงกับอดีตหรือเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึงในอนาคต ครูจึงควรช่วยเหลือพวก Kinesthetic learner ให้เรียนรู้ได้มากขึ้น โดยการให้แสดงออกหรือให้ปฏิบัติจริง เช่น ให้เล่นละคร แสดงบทบาทสมมติ สาธิต ทำการทดลอง หรือให้พูดประกอบการแสดงท่าทาง เป็นต้น
พวก Kinesthetic learner จะพบในประชากรประมาณ 5-10 % เท่านั้น สาขาวิชาที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ได้แก่ วิชาก่อสร้าง วิชาพลศึกษา และควรประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคาร หรืองานด้านกีฬา เช่น เป็นนักกีฬา หรือประเภทที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ งานที่ต้องมีการเต้น การรำ และการเคลื่อนไหว

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปพรบ.2544 การศึกษาหมวด 4 มาตราที่ 22- 30 ตาม แนว construtivism


 มาตรา ๒๒ ยืดผู้เรียนมีความสำคัญและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
และเต็มตามศักยภาพ
 มาตรา ๒๓ จัดการศึกษา  ทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้

คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม รวมถึงความรู้เกี่ยวกับ

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัด
การ การบำรุงรักษาและ

การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
 มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน
และแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน
และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝัง
คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจ
เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อ

การเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง
และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อ

ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
 มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่
ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์

หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา
และนันทนาการ แหล่งข้อมูลและ

แหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
 มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน
การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบ

การพิจารณาด้วย
 มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมือง
ที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จึดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
 มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐  วรรคสอง  วรรคสาม  และวรรคสี่
ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม

และความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ

วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
 มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชน
มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
 มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนา
การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

สรุปแนวคิดแบบ constructivism

สรุปแนวคิดแบบ constructivism

ความรู้และความเชื่อของแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และประสบการณ์เดิม โดยเน้นความสำคัญในการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมนั้น เด็กมีการพัฒนาได้โดยการมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม

สังคมจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดการค้นพบหลักการ แนวคิด และหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจได้ดีกว่าและพยายามหาวิธีลำดับเหตุการณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด ในทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการใช้การเชื่อมโยงปัญหาในอดีตซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการรับรู้จากภายนอกและแรงจูงใจ ครูเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวก หรือแนะนำเท่านั้น เพราะฉะนั้นการเรียนรู้แบบนี้มีเป้าหมายที่สำคัญก็คือสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นนักคิดที่มีประสิทธิภาพ

.........................................................................................................................